มาดูกันว่าสายสามัญกับสายอาชีพนั้นแตกต่างกันอย่างไร

การเรียนหนังสือเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยการศึกษาในระดับมัธยมต้นก็จะต้องเริ่มมีการคิดเพื่อเตรียมตัวตัดสินใจแล้วว่าในช่วงระยะเวลาข้างหน้าอีกไม่กี่ปีที่จะต้องมีการแบ่งสายการเรียนออกอย่างชัดเจนระหว่างสายสามัญกับสายอาชีพนั้นตกลงว่าตนเองจะเลือกเรียนสายไหนกันแน่ ส่วนใหญ่แล้วเด็กที่อยู่ในวัยนี้มักจะรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปกครองเป็นหลักมากกว่าการตัดสินใจด้วยตนเอง อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเรียนในด้านใดก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีด้วยกันทั้งนั้น แต่ทั้งการเรียนสายสามัญและสายอาชีพก็ย่อมต้องมีความแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งลองมาเปรียบเทียบกันดูว่าการเรียนทั้งสองสายนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง

ความแตกต่างระหว่างการเรียนสายสามัญและสายอาชีพ

การเรียนในสายสามัญ

การเรียนสายสามัญคือการเรียนต่อในระดับมัธยมปลายหรือที่เราติดปากกันว่า ม. ปลาย เป็นการเรียนต่อไปอีก 3 ปี ก่อนที่จะเตรียมตัวเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย การเรียนด้านสายสามัญจะเน้นไปที่การจัดการขั้นพื้นฐานตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดเอาไว้ เน้นการให้ความสำคัญกับการเรียนด้านกลุ่มสาระเป็นหลัก ซึ่งปกติแล้วการแบ่งสายเรียนทั่วๆ ไปในสายสามัญจะประกอบไปด้วย สายวิทย์คณิต, สายศิลป์คำนวณ, สายศิลป์ภาษา และสายศิลป์ทั่วไป ซึ่งการเรียนในสายสามัญนี้จะค่อนข้างได้วิชาที่เป็นพื้นฐานความรู้ทั่วไปที่ดี สามารถสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาลหรือเอกชน นอกจากนี้ยังมีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปศึกษาต่อในระดับต่างประเทศได้อีกด้วย

การเรียนในสายอาชีพ

การเรียนสายอาชีพคือการเรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือ ปวช. เป็นการเรียนในหลักสูตรที่จะไม่ได้เน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนกับการเรียนสายสามัญมากนัก มีระยะเวลาในการเรียน 3 ปี โดยหากเรียนจบแล้วจะมีทางเลือกในการเรียนต่อ 2 ทางเลือกใหญ่ๆ คือ การเรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. กับการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย หลักสูตรการเรียนในสายอาชีพก็จะแบ่งหลักๆ ออกเป็น สาขาวิชาอุตสาหกรรม, สาขาวิชาพณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ, สาขาวิชาศิลปกรรม, สาขาวิชาประมง, สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, สาขาวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสาขาวิชาสารสนเทศและการสื่อสาร betflix ทางเข้า จุดเด่นสำคัญที่ทำให้หลายๆ คนเลือกเรียนต่อสายอาชีพนั่นเพราะจะได้มีโอกาสเรียนในสายวิชาที่เน้นการทำงาจริงเป็นหลัก ได้พุ่งเป้าไปที่การเรียนในด้านนั้นๆ อย่างเต็มที่ ต่อให้เรียนจบแค่ระดับ ปวช. ก็สามารถทำงานได้ จะทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงการเรียนตามหลักสูตรที่ทำออกมาเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคตอย่างแท้จริง