พัฒนาการของการศึกษาของไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

การศึกษาของประเทศไทย มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ครั้งโบราณจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากความเชื่อว่าการศึกษาเปรียบดั่งเข็มทิศ ซึ่งช่วยกำหนดทิศทางอนาคตของชาติไปในทางที่ถูกต้อง จัดเป็นการพัฒนาให้คนไทยเกิดความพร้อม เป็นกำลังหลักสำคัญ ในการพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ความเป็นมาของการศึกษาไทยสามารถแบ่งออกเป็น 5 ช่วง ได้แก่

 

 

สมัยโบราณ พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 2411

การศึกษาสมัยนี้ได้รับสืบทอดมาจากวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม คนไทยในสมัยนั้นต้องหาความรู้จากผู้มีวิชาในชุมชนต่างๆ โดยมีบ้านกับวัดเป็นศูนย์กลาง เช่น บ้านเป็นสถานที่อบรมจิตใจ โดยมีพ่อ-แม่ทำหน้าที่อบรมลูกๆ ส่วนวังก็เป็นสถานที่รวบรวมนักปราชญ์จากสาขาต่างๆ มาเป็นขุนนาง โดยเฉพาะช่างศิลปหัตถกรรม ส่วนวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยเฉพาะผู้ชายไทยนิยมบวชเรียนเพื่อเข้าศึกษาธรรมะจากระอาจารย์ จึงกลายมาเป็นค่านิยมในปัจจุบันนี้ คือ ให้ผู้ชายบวชเรียนก่อนแต่งงาน จะทำให้มีมีความมั่นคงครองเรือนได้อย่างมีความสุข

สมัยสุโขทัย พ.ศ. 1781 พ.ศ. 1921

แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ การศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น มวย , กระบี่ , กระบอง รวมทั้งอาวุธต่างๆ ส่วนที่ 2 สำหรับพลเรือน ให้การศึกษาแก่พลเรือนเพศชาย เช่น คัมภีร์ไตรเวท , โหราศาสตร์ , เวชกรรม เป็นต้น ส่วนพลเรือนผู้หญิง สอนวิชาช่างสตรี ปัก , ย้อม , เย็บ  , ถักทอ , อบรมบ่มนิสัยเรื่องกิริยามารยาท และสอนทำอาหาร

สมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310

แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

  • วิชาสามัญ เน้น อ่าน เขียน เรียนเลข อันเป็นวิชาพื้นฐาน
  • ด้านศาสนา มีนักสอนศาสนาหรือ Missionary ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ เพื่อดึงดูดให้ชาวไทยให้หันไปนับถือศาสนาคริสต์
  • ภาษาศาสตร์และวรรณคดี สอนทั้ง บาลี – สันสกฤต , ฝรั่งเศส , เขมร , พม่า , มอญ และจีน
  • การศึกษาของผู้หญิง เรียน ทำครัว ทอผ้า รวมทั้งศึกษากิริยามารยาท
  • วิชาทหาร เพื่อจัดระเบียบปกครองแผ่นดิน

สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2311 พ.ศ. 2411

สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี คอยเก็บรวบรวมตำราจากแหล่งต่าง ๆ ที่สามารถรอดพ้นจากการทำลายล้างของพม่า มุ่งเน้นบำรุงตำราทางศาสนา ศิลปะวรรณคดี จนกระทั่งสมัยพระนารายณ์มหาราช ทรงเริ่มให้ใช้หนังสือจินดามณีเล่มแรก การวัดผลไม่มีแบบแผน และเน้นความจำความสามารถในการประกอบอาชีพ

สมัยระบอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 ปัจจุบัน

จากนโยบายของคณะราษฎร์ ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลายมาเป็นระบอบประชาธิปไตย วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งได้วางเป้าหมายสำคัญในข้อที่ 6 คือ จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร เพื่อเรียนรู้ประชาธิปไตยในการปกครองตนเอง ตลอดจนรับเอาแนวคิดใหม่ๆ มาใช้พัฒนาประเทศ นับตั้งแต่นั้นมา จึงทำให้แนวคิดทางการศึกษาของไทยมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก