พ่อแม่มือใหม่เตรียมตัว จะทำอย่างไรเมื่อลูกดื้อ

การรับมือกับเด็กดื้อ คงเป็นอะไรที่น่าปวดหัวสำหรับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก อย่างเวลาจัดการกับเขาในเวลาอาบน้ำ กินข้าว และเวลาเข้านอน ดูเหมือนทุกเวลาจะเป็นการต่อสู้ไปเสียหมด บางทีก็ทำให้พ่อแม่เหนื่อยจนโมโห และเผลอใช้อารมณ์กับเด็กไปจนไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีเอาเสียเลย วิธีที่จะนำมารับมือกับเขาได้คือการแสดงให้เขาเห็นว่าการกระทำของเขาแบบนั้น ไม่ได้ผลสำเร็จในสิ่งที่เขาต้องการในระหว่างที่เขาทำตัวดีก็ต้องมีรางวัล และต้องคอยจับตาดูอย่างใกล้ชิด วันนี้ได้รวบประสบการณ์และทิปจากหลายครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ และได้ผลดีเป็นอยากมากในการรับมือลูกของพวกเขา

เด็กทุกคนมีนิสัย และความกระฉับกระเฉงที่แตกต่างกันออกไป บางคนก็อาจจะชอบอยู่นิ่ง ๆ สงบ ๆ หรืออาจจะวิ่งพล่านรอบบ้าน แต่อย่าเพิ่งด่วนตีความว่าเขาเป็นเด็กดื้อไปเสียก่อนล่ะ อันดับแรกจะต้องรู้และแน่ใจก่อนที่จะลงมือทำอะไรลงไปอาจก่อให้เกิดผลร้ายแทน โดยเด็กที่มีนิสัยดื้อมักจะมีหลายอย่างตามนี้ เช่นการเอาแต่ใจ เจ้าจี้เจ้าการ ชอบเหวี่ยงอารมณ์ เรียกร้องความสนใจเวลาต้องการอะไร

ถึงว่าอาจจะต้องปวดหัวกับเด็กที่มีนิสัยเอาแต่ใจ แต่มันก็ไม่ได้มีผลเสียไปซะทุกอย่าง มีการวิจัยในสหรัฐและหลายประเทศที่บ่งชี้ว่าเด็กกลุ่มหนึ่งที่มีนิสัยค่อนข้างดื้อและเอาแต่ใจมักจะประสบความสำเร็จในการเรียนและสร้างผลงานให้ตนเองอยู่บ่อย ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กทุกคนจะเป็นเช่นนั้น มีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้ อย่างการคบเพื่อนในโรงเรียน ที่อาจจะพาเสียผู้เสียคนได้ถ้าเจอกับเพื่อนที่ไม่ดีเข้า ดังนั้นการพูดคุยเรื่องเพื่อนในโรงเรียนกับเขาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ก่อนที่จะสายเกินไป มีหลักการรับมือกับเด็กประเภทนี้อยู่บ้างเล็กน้อยที่สามารถนำไปใช้ในจริงในชีวิตประจำวันเช่น

  1. 1.เปิดอกรับฟัง โดยไม่ตั้งคำถามและโต้เถียง
  2. 2.พยายามเข้าถึง เข้าใจ โดยให้เจ้าตัวพยายามเล่า ไม่ต้องบังคับให้พูด
  3. 3.สร้างตัวเลือกให้เขา แทนที่จะบังคับให้ทำเพียงอย่างเดียว
  4. 4.ความมีสติและควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญในการพูดคุยกับเด็ก
  5. 5.ให้ความเคารพกับเขาบ้าง ไม่จำเป็นต้องควบคุมทุกเรื่องของเรา เปิดโอกาสให้ทำอะไรด้วยตนเอง
  6. 6.หาอะไรที่สามารถทำร่วมกันบ่อย ๆ จะช่วยไม่ให้เด็กคิดมาก ไม่คิดว่าเราไม่ใส่ใจ ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์
  7. 7.การต่อรองเป็นครั้งคราว ให้โอกาสเขาในบ้างเรื่อง แต่ต้องรักษาสัญญาเอาไว้ให้ได้
  8. 8.เฝ้าจับตาพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด และรักษาความมั่นคงเอาไว้

สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือความอดทนของผู้ปกครองที่ต้องรักษาเอาไว้ พยายามอย่าไปสติแตกก่อน เพราะนอกจากจะทำให้เด็กเตลิดไปยิ่งกว่าเดิม เราจะเจอปัญหาที่หนักตามขึ้นไปอีก บางครั้งถ้ามันดูเหมือนจะรุนแรงเกินไป ให้ถอยมาตั้งหลักก่อนแล้วค่อยกลับไปคุยในยามที่สถานะการณ์เริ่มผ่อนคลาย จำไว้ว่าอย่าใจร้อน จึงจะประสบความสำเร็จ